ประวัติและข้อมูลทั่วไปโรงเรียนวัดหลวงวิทยา     

          โรงเรียนวัดหลวงวิทยา มีเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน  ตั้งอยู่บริเวณวัดหลวงสุมังคลาราม  ถนนวิจิตรนคร  ตำบลเมืองใต้  อำเภอเมือง  จังหวัดศรีสะเกษ  จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2502  เดิมชื่อโรงเรียน
ศรีสะเกษวิชาคม มีเจ้าอาวาสวัดหลวงสุมังคลารามเป็นผู้รับใบอนุญาต จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นก่อนประถมศึกษาถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

พ.ศ. 2532 โรงเรียนได้รับการยกฐานะจากการเป็นโรงเรียนเอกชนตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนมาตรา 15 (1)   ซึ่งได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล 100% เป็นโรงเรียนเอกชนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นโรงเรียนวัดหลวงวิทยา  เพื่อให้สอดคล้องกับการเป็นโรงเรียนเอกชนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา

          พ.ศ. 2537  โรงเรียนได้ปรับเปลี่ยนนโยบายในการรับนักเรียน โดยจัดการเรียนการสอนเป็น 3 ระดับคือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา

          ปีการศึกษา 2546  เปิดสอน 2 หลักสูตร คือ

                   -  หลักสูตรก่อนประถมศึกษา

                   -  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ประวัติผู้บริหารโรงเรียนวัดหลวงวิทยา         

1.  ผู้รับใบอนุญาต

          พ.ศ.  2502 – 2510      พระครูสิริสารคุณ (ศรี  ฐิตธัมโม)

          พ.ศ.  2511 – 2520      พระมหาหน่วย  ขันติโก

          พ.ศ.  2521 – 2525      พระศาสนดิลก (หน่วย  ขันติโก)

          พ.ศ.  2526 - 2527       พระญาณวิเศษ (ศรี  ฐิตธัมโม)

          พ.ศ.  2528 - 2533       พระเที่ยง (ปภาโส)

          พ.ศ.  2534 - 2545       พระญาณวิเศษ (เที่ยง  ปภาโส)

          พ.ศ.  2546 - 2546       พระครูวิจารณ์สมถกิจ (จรัส  เขมจารี)

          พ.ศ.  2547 – ปัจจุบัน    พระราชญาณโสภณ (จรัส  เขมจารี)

2.  ผู้จัดการ

          พ.ศ.  2502 – 2510      พระราชคุณาภรณ์ (ดาว  ญาณธโร)

          พ.ศ.  2511 – 2520      พระมหาหน่วย ขันติโก

          พ.ศ.  2521 – 2523      นายสาย พรชัย

          พ.ศ.  2526 - 2527       พระมหาสมปอง  เชื้อสิริ,  นายธัญลักษณ์  สีลวานิช

          พ.ศ.  2528 – 2548      นายสุวิช    วิริยะวิวัฒน์

          พ.ศ.  2548 – 2549      พระมหาทองใบ บุญมาก

          พ.ศ.  2549 – ปัจจุบัน    พระครูสุจินวรธรรม

3.  ครูใหญ่/ผู้อำนวยการ

          พ.ศ.  2502 - 2504       นายประดิษฐ์   ภูริพัฒน์

          พ.ศ.  2505 - 2506       นายพิมพ์        จันดา

          พ.ศ.  2507 - 2512       นายบัญชา     สุวรรณพัฒน์

          พ.ศ.  2513 - 2516       นายสะอาจ     เงินแสงสวย

          พ.ศ.  2517 - 2519       นายวิรัช        วงศ์วิรัตน์

            พ.ศ.  2520 - 2520       พระมหาอุทัย  บุญเย็น

          พ.ศ.  2521 - 2522       นายวิชัย  ศรีพวงเพ็ชร

          พ.ศ.  2523 – 2525      นายเมย  จำปาทอง

          พ.ศ.  2526 - 2527       นายอนุศักดิ์   มีครไทย

          พ.ศ.  2528 - 2533       นายวิทัย  เขตสกุล                                                           

          พ.ศ.  2534 - 2550       นายอัมพร  เจียงเพ็ง

          พ.ศ.  2551 -  ปัจจุบัน   นายสันติ  เกื้อกูล

 

ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน 
 (รัตนะเจดีย์ตั้งอยู่บนธรรมจักร โดยมีรัศมีครอบอยู่)

ความหมาย

                            ธรรมจักร        หมายถึง  พระพุทธศาสนา

                             รัตนะเจดีย์       หมายถึง  วัดหลวงสุมังคลาราม

                             รัศมี              หมายถึง  ความรู้และคุณธรรมที่สะท้อนจากภายในสู่ภายนอก

 

ปรัชญาของโรงเรียน                                    

          “ปญฺ?า  นรานํ  รตนํ  แปลว่า  ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน”

 

คำขวัญของโรงเรียน

          “เรียนดี  มีวินัย  ใฝ่คุณธรรม”

 

สีประจำโรงเรียน
          “สีชมพู – กรมท่า”

 

ความหมาย

สีชมพู   หมายถึง  ความรัก ความสามัคคี

สีกรมท่า หมายถึง  ความหนักแน่น

ชมพู – กรมท่า หมายถึง ความหนักแน่น ในความรักและความสามัคคี

 

อักษรย่อของโรงเรียน

          อักษรย่อของโรงเรียน คือ “ว.ล.ว.”

หลักสูตรที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน ปี 2546-ปีปัจจุบัน

  • หลักสูตรก่อนประถมศึกษา
  • หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ช่วงชั้นที่ 1-4 ชั้น ป.1-ม.6
  • หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้น ป.1-ป.6/ม.1-ม.3/ม.4-ม.6

 

ปรัชญา วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ พันธกิจ และเป้าหมาย ของสถานศึกษา

 

ปรัชญา (Philosothy)

          “ปญฺ?า  นรานํ  รตนํ  แปลว่า  ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน”

 

วิสัยทัศน์  (Vision)

 

วิสัยทัศน์ : “มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตร เสริมสร้างวิสัย ปลูกฝังนิสัยกตัญญู เป็นอยู่อย่างพอเพียงตามแนววิถีพุทธ”

                   “ผู้เรียน”                  หมายถึง เด็ก เยาวชน นักเรียน

                   “มีความรู้คู่คุณธรรม”    หมายถึง รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน  กตัญญู  สติปัญญารู้จักแบ่งปัน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                   “มีคุณภาพชีวิตที่ดี”      หมายถึง มีอาชีพ มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในการดำรงชีวิต

                   “มีความสุข”              หมายถึง ความอยู่ดีมีสุข สามารถอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร มีความสามัคคี

                   “สังคม”                   หมายถึง สังคมไทยและสังคมโลก

 

อัตลักษณ์ของโรงเรียน

          “มีวินัย  นิสัยกตัญญู  อยู่อย่างพอเพียง”

 

เอกลักษณ์ของโรงเรียน

          “โรงเรียนวิถีพุทธ”

 

พันธกิจ  (Mission)

          1.  ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ

          2.  สร้างโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาของนักเรียนอย่างทั่วถึง เท่าเทียม

          3. พัฒนาระบบบริหารจัดการการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล

          4.  ส่งเสริมค่านิยม  คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

 

เป้าหมาย
          1. คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนดีขึ้นทุกระดับชั้น  นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีภูมิคุ้มกันต่อการ เปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประเทศในอนาคต

          2. ผลิตและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และคุณภาพ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศ

          3. ผู้เรียนได้รับโอกาสในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          4. มีระบบบริหารจัดการการศึกษามีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล โดยการมีส่วนร่วม จากทุกฝ่าย

 

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Desirable feature)

1.  เรียนดี                                                          

1.1  แสวงหาความรู้และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน

1.2  ตั้งใจศึกษาหาความรู้
1.3  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
1.4  มีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์เป็นที่น่าพอใจ

          2.  มีวินัย
                   2.1  ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อตกลงของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด
                   2.2  มีความอดทนต่ออุปสรรคและความยากลำบาก
                   2.3  มีพฤติกรรมการแสดงออกที่เรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน
          3.  ใฝ่คุณธรรม
                   3.1  มีความซื่อสัตย์ ประหยัด อดออม เสียสละต่อส่วนรวม และมีความสมัครสมานสามัคคี
                   3.2  เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ

                   3.3  มีความประพฤติเรียบร้อย มีจรรยามารยาทที่งดงาม
                   3.4  มีความขยันหมั่นเพียร
  อยู่อย่างพอเพียงตามแนววิถีพุทธ

 

การบริหารจัดการและปฏิรูปการเรียนรู้ ของโรงเรียนวัดหลวงวิทยา

                  1.  จัดระบบบริหารจัดการ โดยแบ่งกลุ่มงานเป็น 6 กลุ่มเพื่อความสะดวกในการบริหารงาน

           2.  จัดระบบการปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญปรับวิธีคิดเป็นยุทธศาสตร์การสอน โดยคณะครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้  แผนครบวงจร  จัดทำใบงานการเรียนรู้  ใบงานการคิดวิเคราะห์  ใบงานการบ้าน  การสอนแบบโครงงานบูรณาการ  เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง  ได้คิดวิเคราะห์ค้นหาความรู้ด้วยตนเอง  และเน้นกระบวนการกลุ่มในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

               3.  ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาขึ้นพื้นฐานให้แก่เยาวชนทุกกลุ่มเป้าหมายด้วยความเสมอภาค 

             4.  พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ก้าวหน้าเต็มตามศักยภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีภาพลักษณ์ตรงตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะตามหลักสูตร

          5.  ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรให้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพครู มีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ และส่งเสริมให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับต่าง ๆ 

         6.  ปรับปรุงระบบโครงสร้างการบริหารงาน บริหารงานเป็นทีม โดยเน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชน นักเรียนและบุคลากรของหน่วยงานทุกคน  จัดองค์กรให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงาน  และการจัดกระบวนการเรียนการสอน

                7.  พัฒนาทรัพยากรสื่อการเรียนการสอน  อาคารสถานที่  ความสะอาดร่มรื่น  ตลอดจนเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

                8.  ส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนให้เป็นผู้มีความกตัญญู  มีจิตสำนึกในการรักษ์สิ่งแวดล้อม   มีระเบียบวินัย

อยู่อย่างพอเพียงตามแนววิถีพุทธ  และภาคภูมิใจในความเป็นไทย

                   9.  จัดหาสื่อ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนระบบ E-learning